
สระผสมมี 6 เสียง ดังนี้
หลักจำสระเสียงยาว: เสือ,กลัว,เมีย
สระเสียงสั้น: เอียะ,เอือะ,อัวะ
สระเกิน
หลักจำ: จำ,ใจ,ไป,เอา,ฤ,ฦ
ชนิดของคำมี 7 ชนิด
1.คำนาม 2.คำสรรพนาม
3.คำกริยา 4.คำวิเศษณ์
5.คำบุพบท 6.คำสันทาน
7.คำอุทาน
คำนามมี 5 ชนิด
1. นามทั่วไป (สามานยนาม) ใช้เรียกชื่อคน,สัตว์,สิ่งของ,สถานที่
2.นามเฉพาะ (วิสามานยนาม) เป็นคำนามที่ใช้เฉพาะคน,สัตว์,สิ่งของ,สถานที่ เช่น จังหวัด
กรุงเทพมหานคร,โรงเรียนดรุณาราชบุรี,โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
3.นามหมวดหมู่ (สมุหนาม) ใช้บอกหมวดหมู่ เช่น เหล่าลูกเสือ,โขลงช้าง,ฝูงลิง
4.นามบอกอาการหรือนามบอกความเป็นอยู่ (อาการนาม) นามที่สร้างขึ้นจากคำกริยา หรือ
คำวิเศษณ์ เช่น ความดี,ความสุข,การพูด,การเดิน,การแข่ง,ความคิด,การวิ่ง,การนั่ง,การยืน
5.นามบอกลักษณะ (ลักษณนาม) นามที่ใช้บอกคำนามทั่วไปหักอยู่หลังจำนวน เช่น
หนังสือ 3 เล่ม,สักวา 2 วง,เสื่อ 1 ผืน,หมอน 1 ใบ
คำสรรพนาม
1. บุรุษสรรพนาม คือ คำ สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด
2. ประพันธสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามและใช้เชื่อมประโยคทำหน้าที่เชื่อมประโยค
3.นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจงหรือบอกกำหนดความให้ผู้พูดกับผู้ฟัง
เข้าใจกันได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น
4.อนิยมสรรพนาม คือ สรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป ได้แก่คำว่า
อะไร ใคร ไหน ได บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ เช่น ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ
5.วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม
6.ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่เป็นคำถาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น